การทดสอบฤทธิ์บรรเทาปวดของยอ (Morinda citrifolia L.) ใน hot plate test ของหนูเม้าส์เพศผู้จำนวน 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหนู 10 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ได้รับการฉีด 0.9% NaCl-solution ขนาด 1 มล./น้ำหนักตัว 100 ก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง กลุ่มที่ 2 ได้รับการฉีดยา tramadol ขนาด 30 มก./กก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง กลุ่มที่ 3 ได้รับการฉีดยา naloxone ขนาด 1 มก./กก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง กลุ่มที่ 4 ได้รับเนื้อลูกยอสุกเข้มข้น 10% ซึ่งละลายในน้ำดื่มของหนู โดยให้หนูกินเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน ก่อนการทดลอง และได้รับการฉีด 0.9% NaCl-solution ขนาด 1 มล./น้ำหนักตัว 100 ก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง กลุ่มที่ 5 ได้รับการฉีดยา tramadol ขนาด 30 มก./กก. และยา naloxone ขนาด 1 มก./กก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง และกลุ่มที่ 6 ได้รับเนื้อลูกยอสุกเข้มข้น 10% ซึ่งละลายในน้ำดื่มของหนู โดยให้หนูกินเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน ก่อนการทดลอง ร่วมกับการได้รับการฉีดยา naloxone ขนาด 1 มก./กก. ทางใต้ผิวหนัง 1 ชม. ก่อนการทดลอง พบว่า กลุ่มที่ได้รับเนื้อลูกยอ 10% มีอาการปวดลดลง เทียบได้กับกลุ่มที่ได้รับยา tramadol ซึ่งเป็นยาแก้ปวด นอกจากนี้การทดสอบใน human monocytes พบว่าสารสกัดเอทานอลของผลลูกยอซึ่งละลายใน dimethyl sulfoxide (DMSO) ด้วยอัตราส่วน 1:100 1:200 และ 1:500 สามารยับยั้งการหลั่ง matrix metalloproteinase 9 (MMP-9) จากเซลล์ ซึ่งถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharides (LPS) เทียบได้กับเซลล์ที่ได้รับยา hydrocortisone ซึ่งเป็นยาลดการอักเสบ โดยที่ MMP-9 จะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อเกิดกระบวนการอักเสบ จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เนื้อลูกยอมีฤทธิ์ในการบรรเทาปวดและลดการอักเสบ
Phytother Res 2010;24(1):38-42.