ทำการศึกษาในหนูถีบจักรจำนวน 25 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ได้รับผงเมล็ดมะรุม ขนาด 500 มก./กก. ป้อนหนูวันละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 3 ได้รับสาร arsenic (สารที่ทำให้เกิดมะเร็งได้) ขนาด 2.5 มก./กก. ฉีดเข้าทางช่องท้อง วันละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับผงเมล็ดมะรุม 250 มก./กก. 1 ชม.ก่อนให้สาร arsenic 2.5 มก./กก. ฉีดเข้าทางช่องท้อง วันละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 5 ได้รับผงเมล็ดมะรุม 500 มก./กก. 1 ชม. ก่อนให้สาร arsenic 2.5 มก./กก. ฉีดเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ทำการทดลองนาน 6 สัปดาห์ หลังจากสิ้นสุดการทดลองในหนูพัก 2 วัน จากนั้นจะมีการเก็บเลือดจากตับ ไต สมอง พบว่ากลุ่มที่ได้รับสาร arsenic จะมีผลทำให้ระดับ reactive oxygen species (ROS), metallothionein (MT) และ thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) ในเนื้อเยื่อมีค่าสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้การทำงานของเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น เช่น superoxide dimutase (SOD), catalase และ glutathione peroxidase (GPx) มีค่าลดลง นอกจากนี้สาร arsenic ยังทำลายตับ และทำให้เอนไซม์ในตับ เช่น acid phosphatase (ACP), alkaline phophatase (ALP) และ aspartate aminotransferase (AST) ทำงานลดลง ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับผงเมล็ดมะรุมขนาด 250 และ 500 มก./กก. ร่วมกับสาร arsenic พบว่าสามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ SOD, catalase และ GPx โดยมีผลให้ลดระดับ glutathione (GSH) ในเนื้อเยื่อของตับ ไต และสมอง โดยที่ระดับ ROS ในเลือดลดลง 57% ในเนื้อเยื่อที่ตับ ลดลง 56% ในเนื้อเยื่อที่ไต และสมองลดลง 42% ซึ่งผงเมล็ดมะรุมในขนาด 500 มก./กก. จะได้ผลป้องกันได้ดีกว่าขนาด 250 มก./กก. ในไต ในขณะที่ในเลือด ตับ และสมอง ทั้งสองขนาดให้ผลไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าในขนาด 500 มก./กก. ลดการดูดซึมสาร arsenic ในเลือด ตับ ไต และสมองได้ 55, 65, 54 และ 34% ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่าการให้ผงเมล็ดร่วมกับสาร arsenic สามารถป้องกันภาวะ oxidative stress ในหนูได้ และลดการดูดซึมของสาร arsenic ในเนื้อเยื่อด้วย
Cell Biology International 2007;31:45-56