การทดลองโดยให้หนูขาวที่อดอาหารได้รับรากโสมโดยการป้อน พบว่าหลังการป้อนเป็นเวลา 90 นาที ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลงโดยฤทธิ์ดังกล่าวขึ้นกับขนาดของโสมที่ให้ซึ่งการลดระดับของน้ำตาลในเลือดนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของระดับ insulin และ C-peptide ในเลือด ในการทดลองพบว่าหากทำการรบกวนการสร้าง acetylcholine ไม่ว่าจะด้วยสารยับยั้ง choline uptake (hemicholinium-3) หรือสารยับยั้ง vesicular choline transport (vesamicol) จะไปมีผลยับยั้ง metabolic action ของรากโสมด้วย ในทางกลับกันถ้าให้ Physostigmine ซึ่งมีผลยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase กลับทำให้ฤทธิ์ของรากโสมเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ารากโสมมีผลกับการหลั่ง acetylcholine จากปลายประสาท เมื่อชักนำให้เกิดการหลั่ง insulin และการยับยั้งฤทธิ์ของรากโสมโดย 4-diphenylacetoxy-N-methylpiperdine methiodide (สารยับยั้ง muscarinic M3 receptor) ช่วยสนับสนุนว่าการออกฤทธิ์ของรากโสมเกิดขึ้นที่ muscarinic M3 receptor จากผลการทดลองจะแสดงให้เห็นว่ารากโสมมีความสามารถในการเพิ่มการหลั่ง acetylcholine จากปลายประสาทของหนูขาว และการกระตุ้น muscarinic M3 receptor ซึ่งอยู่ในเซลล์ของตับอ่อน และทำให้เกิดการหลั่ง insulin เพิ่มขึ้น มีผลให้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
Neuroscience letters 2007;412:101-4