Catechins เป็น flavanol ที่พบในชาเขียวแห้ง ได้แก่ epigallocatechin gallate, epigallocatechin, epicatechin gallate และ epicatechin เป็นต้น สารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน การศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเขียวต่อภาวะสมดุลระหว่างไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และกลูโคส โดยศึกษาในหนูแฮมสเตอร์เลี้ยงด้วยฟรุคโตสที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงและมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะมีระดับ apolipoprotein B สูง ระดับซีรัมอินซูลินสูง และมีระดับ adiponectin ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมปกติ สารสกัดใบชาเขียวที่มีปริมาณ epigallocatechin gallate (GT) สูง โดยใช้ 2 ขนาด คือ 150 มก./กก. และ 300 มก./กก. ให้นาน 4 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักตัวของหนูแฮมสเตอร์ไม่เปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่ได้รับ GT ขนาดต่ำ แต่น้ำหนักตัวของหนูแฮมสเตอร์ลดลงในกลุ่มที่ได้รับ GT ขนาดสูง เมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วยฟรุคโตส น้ำหนักของตับ epididymal adipose tissue ลดลงในกลุ่มที่ได้รับ GT ขนาดต่ำ 19% และ 26% ตามลำดับ และลดลงในกลุ่มที่ได้รับ GT ขนาดสูง 31% และ 31% ตามลำดับ แต่น้ำหนักของหัวใจไม่เปลี่ยนแปลงทั้งสองกลุ่ม ส่วนผลของ GT ต่อค่าทางชีวเคมีพบว่า GT ขนาดต่ำและขนาดสูง ทำให้ระดับ apolipoprotein B, อินซูลิน ลดลงทั้งสองขนาด ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของ GT ส่วนระดับ adiponectin เพิ่มขึ้นโดยขึ้นกับขนาดของ GT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วยฟรุคโตส สารสกัดชาเขียว GT ขนาดสูง (300 มก./กก.) ทำให้ปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับ, epididymal fat, หัวใจ และกล้ามเนื้อลายลดลง โดยพบว่า peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) protein expression PPAR a และ PPAR g เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าสารสกัดชาเขียวทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และกลูโคสสมดุลโดยขึ้นกับ PPAR
J Ethnopharmacol 2006;104:24-31