การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำและเอทานอลจากใบกรีนโอ๊ค (green oak lettuce) และใบเรดโอ๊ค (red oak lettuce) ที่ปลูกด้วยระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน และแบบเกษตรอินทรีย์ (hydroponic and organic cultivation systems) โดยทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิดจากกรีนโอ๊คและเรดโอ๊คที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี กว่าสารสกัดจากการปลูกโดยไม่ใช้ดิน ในการทดสอบทั้ง 3 วิธี โดยสารสกัดน้ำจากกรีนโอ๊คที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ สามารถต้านอนุมุลอิสระ DPPH ได้ดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 0.08±0.00 มก./มล. และสารสกัดเอทานอลจากเรดโอ๊คที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ มีฤทธิ์ดีที่สุดในการทดสอบด้วยวิธี ABTS (IC50 0.04±0.00 มก./มล.) และ วิธี FRAP (FRAP values 6.71±0.10 มก. สมมูลของโทรลอกซ์/ก. สารสกัด) การปลูกโดยไม่ใช้ดินจะมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัดทั้ง 2 ชนิดจากกรีนโอ๊คและเรดโอ๊คสูงกว่าการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ แต่มีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมต่ำกว่า โดยสารสกัดเอทานอลจากเรดโอ๊คที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน มีปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุด ขณะที่สารสกัดน้ำจากเรดโอ๊คที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ มีปริมาณสารฟีนอลิกรวมมากที่สุด การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งตับ HepG2 ของสารสกัดจากกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค พบว่าสารสกัดจากกรีนโอ๊คมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าสารสกัดจากเรดโอ๊ค โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 93.81±1.94 และ 347.50±8.39 มคก./มล. ตามลำดับ
Trop J Nat Prod Res. 2024;8(5):7161-5.