การศึกษาผลต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (human dermal fibroblasts) ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย TNF-α ของสาร สกัดด้วยน้ำร้อนจากดอกตูมของกุหลาบญี่ปุ่น (Rosa rugosa) และสารประกอบฟีนอลิกที่แยกได้สารสกัด พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 1-10 มคก./มล., สาร rosarugoside D ความเข้มข้น 0.03-100 ไมโครโมลาร์ และสาร rosarugoside A ความเข้มข้น 1-100 ไมโครโมลาร์ มีผลลดการสร้าง reactive oxygen species (ROS) ในเซลล์ได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งฤทธิ์แปรผันตามความเข้มข้น สาร rosarugoside A ความเข้มข้น 1-100 ไมโคร โมลาร์ มีผลยับยั้งเอนไซม์ matrix metallo-proteinase-1 (MMP-1) หรือ collagenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายคอลลาเจนได้ โดยฤทธิ์แปรผันตามความเข้มข้น ขณะที่สาร rosarugoside D สามารถยับยั้งได้เฉพาะที่ความเข้มข้น 100 ไมโครโมลาร์ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร rosarugoside D สามารถเพิ่มระดับของ procollagen type I α1 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ collagen type I ได้ แต่สาร rosarugoside A ไม่มีผล สรุปได้ว่าสารสกัดและสารที่แยกได้จากสารสกัดจากดอกกุหลาบญี่ปุ่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสลายคอลลาเจน และเพิ่มระดับของคอลลาเจน ซึ่งเป็นผลในการป้องกันและชะลอความแก่และความเสียหายของผิวหนังได้
Plants. 2024;13,1266. doi: 10.3390/plants13091266.