ศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารโพลีเปปไทด์ (polypeptides) ที่สกัดได้จากเมล็ดฟักทอง ซึ่งสามารถแยกสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า 1,000 ดัลตัน ได้เป็น 3 ส่วนคือ P1, P2 และ P3 โดยมีสัดส่วนของเปปไทด์ทั้ง 3 ชนิดเท่ากับ 0.11, 20.26 และ 92.72% ตามมลำดับ เมื่อนำเปปไทด์ดังกล่าวมาทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเซลล์ผิวหนัง (human skin fibroblast; HSF) ด้วยวิธี MTT assay, cell cycle assay และวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) พบว่า สารโพลีเปปไทด์ P3 มีผลกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ HSF ในขณะที่ P2 ไม่มีผลในการเพิ่มจำนวนของเซลล์ดังกล่าว และ P1 แสดงออกถึงความเป็นพิษต่อเซลล์ และเมื่อทำการเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดจากกระบวนการออกซิเดชัน (oxidative stress) ต่อเซลล์ HSF ด้วย H2O2 พบว่า สารโพลีเปปไทด์ P3 สามารถยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ระดับ reactive oxygen species (ROS) ลดลง รวมทั้งทำให้การทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) และปริมาณ glutathione (GSH) ภายในเซลล์เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารโพลีเปปไทด์ P3 ที่สกัดได้จากเมล็ดฟักทอง มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระและยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ผิวหนังได้
Front Nutr. 2023;9:1091499.