การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำจากดอกหอมหมื่นลี้ (Osmanthus fragrans) พบว่าสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดน้ำ เมื่อทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.173±0.004 กก./ล. และค่า FRAP เท่ากับ830.620±6.843 ก. trolox/กก. การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ macrophage RAW264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ พบว่าสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ มีค่า IC50 เท่ากับ 0.3218 มก./มล. ขณะที่สารสกัดน้ำไม่มีผล การทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำ ความเข้มข้น 125-1,000 มคก./มล. ในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก DU-145 พบว่าสารสกัดเอทานอล มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าสารสกัดน้ำ (ค่า IC50 เท่ากับ 0.261 และ 1.684 มก./มล. ตามลำดับ) และพบว่าปริมาณของสารประกอบฟีนอลิกและแทนนินในสารสกัดเอทานอลสูงกว่าสารสกัดน้ำ ขณะที่ปริมาณของสารฟลาโวนอยด์จะใกล้เคียงกัน
Plants. 2023;12,3168. doi: 10.3390/plants12173168