การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ catechol-O-methyltransferase (COMT) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคพาร์กินสันของสารสกัด 70% เอทานอลจากกลีบดอก ใบ และลำต้นดาวเรืองฝรั่ง ความเข้มข้น 125, 250, 500 มคก./มล. พบว่าสารสกัดจากใบมีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้ง และมีปริมาณของสารโพลีฟีนอลรวมสูงที่สุด โดยฤทธิ์แปรผันตามความเข้มข้น เมื่อนำสารสกัดจากใบมาแยกวิเคราะห์สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในสารสกัด และทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ COMT พบว่าประกอบด้วยสารหลัก 10 ชนิด ได้แก่ quercetin 3-O-β-glucoside (1), isorhamnetin 3-O-β-glucoside (2), quercetin 3-O-β-neohesperidoside (3), quercetin 3-O-(2"-O-α rhamnosyl-6"-O-malonyl)-β-glucoside (4), quercetin 3-O-(6"-O-malonyl)-β-glucoside (5), quercetin 3-O-6"-O-methylmalonyl)-β-glucoside (6), isorhamnetin 3-O-(6"-O malonyl)-β-glucoside (7), chlorogenic acid (8), 3,4-dicaffeoylquinic acid (9) และ syringic acid (10) โดยสาร 1-6, 8 และ 9 มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้ มีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 22-71 มคก./มล. แต่ฤทธิ์ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยา tolcapone ที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน (IC50 0.55 มคก./มล.) ขณะที่สาร 7 และ 10 ไม่มีฤทธิ์ (IC50 > 100 มคก./มล.) จะเห็นว่าสารสำคัญในสารสกัดจากใบดาวเรือง มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ catechol-O-methyltransferase ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาป้องกันและรักษาโรคพาร์กินสันและภาวะซึมเศร้าได้
Molecules. 2023;28,1333. doi: 10.3390/molecules28031333.