การทดสอบฤทธิ์ของสารกลุ่ม polysaccharides ที่แยกได้จากส่วนลำต้นของกล้วยไม้สกุลหวายเอื้องเก๊ากิ่ว (Dendrobium nobile Lindl.) ในเซลล์ผิวหนังมนุษย์ (Human foreskin fibroblasts; HFF-1) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายด้วยรังสี UVA และการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการต้านความชราที่อาจเป็นเป็นได้ โดยทำการทดสอบเซลล์ผิวหนังในหลอดทดลองด้วยสารกลุ่ม polysaccharides 0.06, 0.18 และ 0.54 มก./มล. 1 วันก่อนทำให้เซลล์ถูกทำลายด้วยรังสี UVA ประเมินผลการทดสอบด้วยการวัด reactive oxygen species (ROS), malondialdehyde (MDA) การมีชีวิตรอดและระยะเวลาการมีชีวิตของเซลล์ การทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) และ glutathione peroxidase (GSH-Px) ทำการประเมินเกี่ยวกับวิถี JNK/c-Fos/c-Jun, senescence-associated β-galactosidase (SA-β-Gal) และการแสดงออกของ matrix metalloproteinases (MMP) ผลการทดสอบพบว่ารังสี UVA มีผลทำให้การมีชีวิตรอดระยะเวลาการมีชีวิตของเซลล์ และการแบ่งตัวของเซลล์ลดลง การเกิด ROS และ lipid peroxidation เพิ่มขึ้น การทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ SOD, CAT และ GSH-Px ลดลง และสารกลุ่ม polysaccharides จากส่วนลำต้นของเอื้องเก๊ากิ่วมีผลต่อการปรับปรุงค่าต่าง ๆ จากการที่เซลล์ถูกทำลายด้วยรังสี UVA การแสดงออกของ SA-β-Gal ลดลง การส่งสัญญาณของวิถี JNK/c-Fos/c-Jun ลดลง และยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน MMP-1, MMP-2, MMP-3 และ MMP-9 จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าสารกลุ่ม polysaccharides จากส่วนลำต้นของเอื้องเก๊ากิ่วมีฤทธิ์ปกป้องการถูกทำลายของเซลล์จากรังสี โดยเพิ่มการต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งวิถี JNK และการแสดงออกของ MMPs ในหลอดทดลอง
Ethnopharmacol. 2022;298:115590. doi: 10.1016/j.jep.2022.115590.