ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากใบเทียนกิ่ง

การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาว (human peripheral blood monocytes) ชนิด THP-1 ซึ่งถูกกระตุ้นให้หลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ interleukin-6 (IL-6) และ tumour necrosis factor-α (TNF-α) ด้วย lipopolysaccharides ของส่วนสกัดด้วยเอทิลอะซีเตท, ส่วนสกัดด้วยเมทานอล และส่วนสกัดด้วยน้ำจากใบเทียนกิ่ง พบว่าส่วนสกัดทั้งสามชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการหลั่งของ IL-6 ของส่วนสกัดด้วยเอทิลอะซีเตท ความเข้มข้น 100 และ 200 มคก./มล. เท่ากับ 83.21% และ 82.54%, ส่วนสกัดด้วยเมทานอล ความเข้มข้น 250 และ 500 มคก./มล. ยับยั้งได้ 39.96% และ 52.30% และส่วนสกัดด้วยน้ำจากใบ ความเข้มข้น 250 และ 500 มคก./มล. ยับยั้งได้ 58.69% และ 79.16% เมื่อเทียบกับยา dexamethasone ความเข้มข้น 100 ไมโครโมลาร์ ที่ยับยั้งได้ 77.05% ส่วนสกัดด้วยเอทิล-อะซีเตท ความเข้มข้น 200 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของ TNF-α ได้ 89.88% ขณะที่ส่วนสกัดอื่นๆ ไม่มีผล และมีฤทธิ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับยา dexamethasone ที่ยับยั้งได้ 71.17%

Rasayan J Chem. 2021;14(1):212-20.