สารสำคัญและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องร่วงของสารสกัดจากขี้อ้าย

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากผลและเปลือกต้นของขี้อ้าย (Terminalia nigrovenulosa Pierre ex Laness) ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องร่วง ได้แก่ Shigella sonnei, S. flexneri, S. dysenteriae, Salmonella typhimurium, Escherichia coli, Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus พบว่าสารสกัดเอทานอลจากผล จะมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดอื่นๆ โดยมีค่าโซนใส (inhibition zone) ในการต้านเชื้อ S. sonnei เท่ากับ 19±0.15 มม. และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 16.12 มก./มล ขณะที่ยา ciprofloxacin ความเข้มข้น 12.5 มคก./มล. มีค่าโซนใส 16±0.05 มม. และค่า MIC <0.01 มก./มล. เมื่อศึกษาสารสำคัญในสารสกัด พบว่าสารสกัดเอทานอลจากผลมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด เท่ากับ371.97±6.13 มก. สมมูลของกรดแกลลิก (gallic acid equivalents; GAE)/ก. สารสกัด และ 332.24±4.59มคก. สมมูลของเคอร์ซิติน (quercetin equivalent; GUE)/ก. สารสกัด ตามลำดับ รองลงมาคือ สารสกัดน้ำจากผล (157.70±2.83 มก. GAE/ก. สารสกัด และ 268.90±1.09 มก. GUE/ก. สารสกัด ตามลำดับ) ขณะที่สารสกัดน้ำจากเปลือกต้น มีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมและฟลาโวนอยด์รวมต่ำสุด (89.17±1.43 มก. GAE /ก. สารสกัด และ 239.48±1.30 มก. GUE/ก. สารสกัด ตามลำดับ) สารสกัดน้ำและเอทานอลจากเปลือกต้นจะมีปริมาณของสารแทนนินสูงกว่าสารสกัดจากผล มีค่าเท่ากับ 0.89±0.02 และ 0.85±0.03 มคก. สมมูลของ คาเทชิน (catechin equivalence)/ก. สารสกัด ตามลำดับ

Science & Technology Asia. 2021;26(1):162-9.