ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของใบดาหลา

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกชนิด Staphylococcus epidermidisand และ Pseudomonas aeruginosaare ของสารสกัด 70%เอทานอลและส่วนสกัดต่างๆ จากใบดาหลา (Etlingera elatior) ด้วยวิธีdiffusion method และ bioautography method พบว่าสารสกัด 70%เอทานอลมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) ทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 400-25 มคก./มล. ในขณะที่ส่วนสกัดเอ็น-เฮกเซน, ส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตท, และส่วนสกัดเมทานอลมีค่า MIC ต่อเชื้อ S. epidermidis เท่ากับ 200, 100 และ 200 มคก./มล. ตามลำดับ และมีค่า MIC ต่อเชื้อ P. aeruginosaare เท่ากับ 400, 50, และ 100 มคก./มล. ตามลำดับ โดยส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตทให้ผลดีที่สุด การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารสกัด 70%เอทานอล, ส่วนสกัดเอ็น-เฮกเซน, ส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตท, และส่วนสกัดเมทานอล มีปริมาณผลรวมฟลาโวนอยด์ (total flavonoid content) เท่ากับ 0.227±0.01, 0.28 ± 0.02, 0.42 ± 0.05, และ 0.40 ± 0.01 %มก./ก.เทียบเท่ากับสารควอซิติน (quercetin equivalent) โดยส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตทมีปริมาณผลรวมฟลาโวนอยด์มากที่สุด จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจากใบดาหลาอาจเป็นผลมาจากสารฟลาโวนอยด์

J Glob Trends Pharm Sci. 2020;11(1):7425-31.