ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของรำข้าว

ภาวะเครียดออกซิเดชันและการอักเสบมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ อาหารที่ประกอบด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenols) มีความสามารถในการต่อต้านการเกิดกลไกของการอักเสบ และรำข้าว (rice bran) ที่ได้จากการสีข้าวก็พบว่าอุดมไปด้วยสารสำคัญกลุ่ม polyphenols ได้แก่ phenolic acids จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารสกัดรำข้าวซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญกลุ่ม phenolic ขนาด 25, 50, 100 และ 250 มคก./มล. ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย hydrogen peroxide และ lipopolysaccharide และวัดค่าดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ malondialdehyde (MDA), intracellular reactive oxygen species และ nitric oxide และไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ interleukin-6 (IL-6), monocyte chemoattractant protein 1 (MCP-1), interleukin-10 (IL-10), tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin-12, p70 (IL-12p70) และ interferon-γ (IFN-γ) ผลการทดสอบพบว่ารำข้าวมีผลในการลดการสร้าง MDA, intracellular reactive oxygen species, nitric oxide และไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ IL-6, IL-12p70 และ IFN-γ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากข้อมูลผลการทดสอบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดรำข้าวประกอบด้วยสารสำคัญกลุ่ม phenolic มีคุณสมบัติในการจับกับอนุมูลอิสระ ต้านภาวะเครียดออกซิเดชันและการเกิดการอักเสบ อาจมีผลช่วยในการยับยั้งกลไกของการเกิดโรคการอักเสบเรื้อรังได้

Foods. 2020;9(6):829.