การศึกษาในหนูเม้าส์ที่ป้อนด้วยอาหารไขมันสูงที่มีส่วนผสมของสารโพลีฟีนอลจากผลแอปเปิ้ล (AP) ความเข้มข้น 5% เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาเซลล์ไขมันสีขาว (white adipose tissue) บริเวณขาหนีบให้กลายเป็นเซลล์ไขมันสีน้ำตาลสีเบจ (brown/beige adipocytes) ซึ่งทำหน้าที่ในการสลายไขมันที่สะสมในเซลล์และสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยสาร AP มีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนที่จำเพาะกับเซลล์ไขมันสีน้ำตาล/สีเบจ ได้แก่ Ucp1, Cidea, Tbx1, Cd137 เพิ่มระดับโปรตีน uncoupling protein 1 ซึ่งมีการแสดงออกจำเพาะกับเซลล์ไขมันสีน้ำตาล และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานในไมโตรคอนเดรีย นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลควบคุมการพัฒนาเซลล์ไขมันสีขาวไปเป็นเซลล์ไขมันสีน้ำตาล ได้แก่ fibroblast growth factor 21 (FGF21) และ peroxisome proliferator-activated receptor gamma coactivator 1 α (PGC-1α) ในหนูเม้าส์เพิ่มสูงขึ้นเมื่อได้รับ AP อย่างไรก็ตามการทดสอบในเซลล์ไขมันตั้งต้น (primary cell culture) ไม่พบผลโดยตรงของ AP ต่อการสร้างเซลล์ไขมันสีเบจ แต่พบว่าสาร AP เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ tyrosine hydroxylase เอนไซม์ที่ทำหน้าที่กำหนดอัตราการสังเคราะห์ catecholamine ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสลายและเปลี่ยนแปลงเซลล์ไขมันให้กลายเป็นเซลล์ไขมันสีเบจ และผลการศึกษาในหนูเม้าส์ที่ป้อนอาหารไขมันสูงร่วมกับ AP พบว่ามีผลชักนำให้เกิดการพัฒนาเซลล์ไขมันสีขาวให้กลายเป็นเซลล์ไขมันสีเบจ ลดการสะสมไขมัน และเพิ่มอัตราการลดลงของน้ำตาลในการทดสอบความทนต่อน้ำตาลและอินซูลินของของสัตว์ทดลอง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการป้อนสารโพลีฟีนอลจากผลแอปเปิ้ลร่วมกับอาหารไขมันสามารถกระตุ้นการพัฒนาเซลล์ไขมันสีเบจในเนื้อเยื่อบริเวณขาหนีบของหนูเม้าส์ โดยอาศัยกลไกกระตุ้น/ชักนำกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ catecholamineFGF21PGC-1α ซึ่งอาจเป็นประโยนช์ต่อการนำไปรักษาโรคอ้วนหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนลงพุงในอนาคต
J Nutri Biochem. 2020;77:108299.