ฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดมะรุม

การศึกษาฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัด 80% เอทานอลจากใบ, เมล็ด และฝักมะรุม และสารที่แยกได้สารสกัด ได้แก่ ethyl-(E)–undec-6-enoate; 3,5,6-trihydroxy-2-(2,3,4,5,6-pentahydroxyphe-nyl)-4H-chromen-4-one; quercetin; kaempferol;β-sitosterol-3-O-glucoside; oleic acid; glucomoringin; 2,3,4-trihydroxybenzaldehyde และ stigmasterol ความเข้มข้น 7.81, 15.62 และ 31.25 มคก./มล. โดยทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหนู (RBL-2H3) ทำการประเมินผลต้านการแพ้ทั้งในระยะต้น (early phase) ซึ่งประเมินจากการยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-hexosaminidase และฮีสตามิน (histamine) และระยะหลัง (late phase) ซึ่งประเมินจากการยับยั้งการหลั่งของ interleukin-4 (IL-4) และ tumour necrosis factor (TNF-α) พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์ต้านการแพ้ได้ โดยสารสกัดจากใบจะมีฤทธิ์ดีสุดในการยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-hexosaminidase, IL-4 และ TNF-α และสารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีน ในส่วนของสารที่แยกได้พบว่า สาร glucomoringin มีฤทธิ์ดีสุดในการยับยั้งเอนไซม์ β-hexosaminidase และ TNF-α ขณะที่สาร quercetin มีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้งฮีสตามิน และสาร β-sitosterol-3-O-glucoside มีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้ง IL-4 แสดงว่าสารสกัดจากมะรุมและสารสำคัญที่แยกได้จากสารสกัด มีฤทธิ์ต้านการแพ้ได้ทั้งในระยะต้นและระยะหลังของการแพ้

BMC Complement Altern Med. 2019;19(1):361. doi: 10.1186/s12906-019-2776-1.