ฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีน

การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีนซึ่งพบได้มากในมะเขือเทศ ในหนูเม้าส์เพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย dextran sulfate sodium (DSS) โดยแบ่งหนูเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน (AIN-93M) กลุ่มที่ 2 ได้รับสารละลาย 2.5%w/v DSS + น้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสะลาย 2.5%w/v DSS + สารไลโคพีนขนาด 50 มก./นน.ตัว 1 กก. โดยผสมในอาหารมาตรฐาน ทำการทดสอบเป็นเวลานาน 40 วัน พบว่าสารไลโคพีนสามารถยับยั้งการอักเสบและการทำลายเซลล์เยื่อบุของผนังลำไส้ (gut barrier) จากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ได้ และสารไลโคพีนทำให้อาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลซึ่งเกิดจาก DSS ลดลง โดยยับยั้งการอักเสบในระบบประสาทและมีฤทธิ์ป้องกันการเซลล์ประสาท นอกจากนี้สารไลโคพีนยังทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ได้แก่ Bifidobacterium และ Lactobacillus มีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสร้าง short-chain fatty acids (เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย) ในลำไส้เพิ่มขึ้น รวมทั้งออกฤทธิ์ยับยั้งสารก่อการอักเสบชนิด lipopolysaccharide ในลำไส้ใหญ่ด้วย แสดงให้เห็นว่าสารไลโคพีนสามารถยับยั้งการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่จากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ได้

J Agric Food Chem. 2020;68:3963-75.