การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าในเปลือกของหอมหัวใหญ่มีสารในกลุ่ม flavonoids 90.25% และสารที่พบมากที่สุดคือสาร quercetin (36.94%) และ quercetin 4'-O-β-d-glucopyranoside (15.81%) การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเมื่อทดสอบด้วย oxygen radical absorbance capacity (ORAC), DPPH radical scavenging capacity, ferric reducing/antioxidant power (FRAP), superoxide anion free radical scavenging activity, และ relative antioxidant capacity index (RACI) และการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาท ในเซลล์ไมโครเกลียชนิด BV-2 พบว่าที่ความเข้มข้น 100 ไมโครโมลาร์สารดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ และสามารถยับยั้งการสร้างสารก่อการอักเสบชนิด nitric oxide (NO) จากการเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) ได้ แสดงให้เห็นว่าสารสำคัญจากเปลือกหอมหัวใหญ่อาจเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้
J Agric Food Chem. 2020;68(3):799-807.