ฤทธิ์ระงับอาการปวดและบรรเทาอาการข้ออักเสบของสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหิน

การศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดของสกัดน้ำจากต้นผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum L.) โดยป้อนสารสกัดสกัดน้ำ ขนาด 10, 50 และ 250 มก./กก. ให้แก่หนูเม้าส์ ก่อนการทดสอบความทนต่อการเจ็บปวดด้วยการฉีดกรดอะซีติกเข้าทางช่องท้อง (Writhing Test) และความสามารถในการยืนบนแท่นร้อน (hot plate test) พบว่าสารสกัดจากผักเบี้ยหินมีฤทธิ์ระงับอาการปวด สามารถลดการงอตัวของสัตว์ทดลองได้ 41.10, 50.40 และ 67.10% ตามลำดับ รวมถึงยืดระยะเวลาการยืนบนแท่นร้อน โดยสารสกัดขนาด 250 มก./กก. ช่วยเพิ่มความทนต่ออาการปวด เพิ่มค่า peak maximum possible effect (MPE) ที่เวลา 30 นาทีหลังการได้รับสารสกัดขึ้น 22.98% และฤทธิ์ระงับอาการปวดของสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหินสามารถถูกยับยั้งได้ด้วยการป้อน Nitro-L-arginine หรือ naloxone ซึ่งเป็นการยืนยันว่าผักเบี้ยหินระงับอาการปวดโดยอาศัยการยับยั้งกระบวนการ NO-cGMP pathway ในสัตว์ทดลอง สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบพบว่าสารสกัดจากผักเบี้ยหินขนาด 250 มก./กก. ยับยั้งการบวมในอุ้งเท้าหนูเม้าท์ที่เหนี่ยวนำด้วยการฉีดคาราจีแนนได้ตามระยะเวลาที่ได้รับ โดยลดอาการบวมสูงสุดได้ 50.60% ณ เวลา 6 ชั่วโมงหลังการได้รับสาร และการป้อนสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหิน วันละ 250 มก./กก. ติดต่อกัน 28 วัน มีผลลดการบวมของอุ้งเท้าจากการเหนี่ยวนำด้วยการฉีด Freund’s adjuvant ได้ 58.56% และลดดัชนีชี้วัดของข้ออักเสบ (arthritic index) ลง 26.84% รวมถึงลดการก่อตัวของ malondialdyhyde และป้องกันการลดลงของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากภาวะข้ออักเสบให้กลับสู่ค่าปกติ จากการตรวจสอบลักษณะทางจุลกายวิภาค พบว่าอาการบวมและการหนาตัวของเซลล์ synovial บริเวณข้อของสัตว์ทดลองลดลง และการแพร่ผ่านของเซลล์เม็ดเลือดขาว mononuclear ในบริเวณข้อเท้าลดลง ผลการศึกษาเหล่านี้ชี้ว่าสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหินสามารถต้านอาการปวดโดยอาศัยการส่งผ่านสัญญาณของของระบบ nitrergic และ opioidergic รวมถึงมีฤทธิ์บรรเทาอาการข้ออักเสบผ่านกลไกต้านอนุมูลอิสระร่วมกับการลดระดับสารก่อการอักเสบ

J Ethnopharmacol 2019;238:111831