การศึกษาฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของผักพื้นบ้านไทยที่นิยมรับประทาน จำนวน 40 ชนิด โดยทำการสกัดด้วยวิธีการคั้นน้ำและหมักด้วย 95% เอทานอล จากนั้นทดสอบในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) และมะเร็งเต้านม (MCF-7) ด้วยวิธี Sulphorhodamine B (SRB) พบว่าสารสกัดน้ำของเมล็ดเหรียงมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านมได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ สารสกัด 95% เอทานอลของใบช้าพลู โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งได้ร้อยละ 50 (IC50) น้อยกว่า 1 และ 7.77 มคก./มล. ตามลำดับ ส่วนเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่ามีสารสกัด 8 ชนิด ที่มีฤทธิ์ดี ได้แก่ สารสกัด 95% เอทา- นอลของผักชีลาว ใบช้าพลู ใบย่านาง มะเขือพวง และผักติ้ว สารสกัดน้ำของดอกขจร เมล็ดเหรียง และใบเหมียง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.80, 5.45, 9.09, 12.09, 12.32, 7.08, 9.85, และ 13.77 มคก./มล. ตามลำดับสรุปได้ว่า สารสกัดจากผักพื้นบ้านไทยที่มีผลในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และมะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) ได้แก่ เมล็ดเหรียง ใบช้าพลู ผักชีลาว ดอกขจร ใบย่านาง ผักติ้ว ผลมะเขือพวง และใบเหลียง ผักเหล่านี้เป็นที่นิยมและสามารถหารับประทานได้ง่ายในท้องตลาด ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถสนับสนุนการรับประทานพืชผักเหล่านี้เพื่อใช้เป็นอาหารที่มีผลต้านมะเร็งได้
Thammasat Med J. 2019;19(1):70-8.