การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ ใบ Birch-Leaved Cat Tail (Acalypha fruticose), ใบตำแยแมว (Acalypha indica), ใบมะตูม (Aegle marmelos), ใบเสนียด (Adhatoda vasica), ใบรัก (Calotropis gigantean), ใบทองหลางลาย (Erythrina indica), ใบคนทีเขมา (Vitex negundo), ใบยี่โถ (Nerium oleander), ใบมะขามเทศ (Pithecellobium dulce), เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus) และน้ำมันหอมระเหยของว่านน้ำ (ได้จากการสกัดเหง้าว่านน้ำด้วยวิธีกลั่นด้วยน้ำ) โดยนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายต่างๆ คือ benzene, chloroform, ethanol, ethyl acetate, methanol, hexane, และ petroleum ether และนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger ATCC 16888 เปรียบเทียบผลที่ได้กับยาต้านเชื้อรา 2 ชนิดคือ itraconazole และ voriconazole พบว่า สารสกัดเมทานอลและน้ำมันหอมระเหยของว่านน้ำมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราได้ดีที่สุด (ความเข้มข้น 100 มคล./มล.) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยาต้านเชื้อรา (ความเข้มข้น 1 มก./มล.) โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) ประมาณ 5 มคก./มล. การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารออกฤทธิ์ของว่านน้ำคือ β-Asarone และการศึกษากลไกการออกฤทธิ์พบว่า β-Asarone เข้าแทรกแซงการทำงานและลดปริมาณของ ergosterol ในเยื่อหุ้มเซลล์ของ A. niger ATCC 16888 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเหง้าว่านน้ำและสาร β-Asarone มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อรา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นสารต้านเชื้อราในอุตสาหกรรมต่อไป
Proceedings of the National Academy of Sciences, India, Section B: Biological Sciences 2019;89(1):173-84.