สารต้านอนุมูลอิสระจากเปลือกและใบของลูกแพร์ป่า

การแยกสารสำคัญจากเปลือกผลและใบของลูกแพร์ป่า (Pyrus ussuriensis Maxim.) ด้วยเทคนิค column chromatography และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วย nuclear magnetic resonance spectroscopy (NMR) พบว่ามีสารในกลุ่ม phenolic จำนวน 13 ชนิด คือ rutin (1), (-)-catechin (2), orobol (3), daidzein (4), tricin 4’-O-[threo-β-guaiacyl-(7’’-O-methyl)-glyceryl] ether (5), tricin 4’-O-[threo-β-guaiacyl-(7’’-O-methyl-9’’-O-acetyl)-glyceryl] ether (6), 5,7,3’,5’-tetrahydroxyflavanone (7), artselaeroside A (8), trilobatin (9), 3-(2,4,6-trihydroxyphenyl)-1-(4-hydroxyphenyl)-propan-1-one (10), quercetin-3-O-(3’’-O-galloyl)-α-L-rhamnopyranoside (11), apigenin (12) และ quercetin (13) การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) radical scavenging assay และการวัดปริมาณ reactive oxygen species (ROS) พบว่าสาร quercetin และ quercetin-3-O-(3’’-O-galloyl)-%alpha;-L-rhamnopyranoside มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 6.06 และ 9.60 มคก./มล. ตามลำดับ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรืออาหารเพื่อสุขภาพต่อไป

Food Chem. 2018;241:182–7.