สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง (Curcuma caesia Roxb.) พบสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ eucalyptol (16.43%) และ camphor (11.56%) ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50 1.487 มคก./มล. และค่าต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power เท่ากับ 48 มคก./มล. ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์ที่พบในน้ำมันหอมระเหย คือ 2.13±0.027 และ 11.36±0.096 มก./มล. ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วงยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบดีกว่าสารมาตรฐาน sodium diclofenec โดยยับยั้งการเกิด protein denaturation ด้วยค่า IC50 182.5 มคก./มล. นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ Bacillus subtilis, B. cereus, Staphylococcus aureus และ Salmonella typhimurium ต้านเชื้อรา Aspergillus fumigatus, A. niger, Saccharomyces cerevisiae และต้านยีสต์ Candida albicans รวมถึงไม่แสดงความเป็นพิษต่อยีน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วงมีศักยภาพและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจที่อาจนำใช้พัฒนาและศึกษาต่อในอนาคต

Ind Crops Prod 2019;129:448-54