การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดฝักของกระเจี๊ยบมอญ (Abelmoschus esculentus L. Moench.) ต่อปริมาณสารสำคัญ คุณค่าทางอาหาร และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในกระเจี๊ยบมอญจำนวน 8 สายพันธุ์ของประเทศกรีซ คือ Boyati, Pylaea, Veloudo, Lasithi, Choppee, Dwarf Long Green, Silver Queen, และ Clemson Spineless โดยเปรียบเทียบระหว่างฝักของกระเจี๊ยบมอญที่มีขนาดเล็ก (3-5 ซม.) และขนาดใหญ่ (>7ซม.) พบว่าปริมาณสารสำคัญต่างๆ เช่น โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, กรดไขมัน, tocopherols, β-Carotene, และ lycopene มีปริมาณแตกต่างกันไป ตามสายพันธุ์ที่นำมาทดสอบ ส่วนใหญ่พบว่าสารสำคัญจะมีปริมาณสูงเมื่อเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝักมีขนาดเล็ก สำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสายพันธุ์ Clemson Spineless และ Silver Queen มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี Reducing Power และ DPPH ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่า กระเจี๊ยบมอญขนาดเล็กจะมีคุณค่าทางอาหาร ลักษณะภายนอก และเนื้อสัมผัสที่น่ารับประทานมากกว่าเมื่อนำมารับประทานเป็นผักสด แต่อย่างไรก็ดีปริมาณสารสำคัญและคุณค่าทางอาหารของกระเจี๊ยบมอญจะแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์
Food Chem 2018;242:46674.