การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของน้ำคั้นจากผลยอ (Morinda citrifolia L.) หรือโนนิ (noni fruit juice; NFJ) โดยทำการศึกษาระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (neural-immune interactions) ผ่านการนำสัญญาณภายในเซลล์ม้ามของหนูแรทชนิด F344 ซึ่งทำการศึกษาทั้งในเซลล์ (เซลล์ลิมโฟไซต์จากส่วนม้าม) และในร่างกายของหนูแรทหนุ่ม (อายุ 3 - 4 เดือน) และหนูแรทแก่ (อายุ 16 - 21 เดือน) สำหรับการศึกษาในเซลล์ เซลล์ม้ามของหนูจะได้รับ NJF ขนาด 0.0001-1% เป็นเวลานาน 24 ชม. ส่วนการศึกษาในร่างกาย หนูแรทแก่จะได้รับ NJF ความเข้มข้น 5%, 10% หรือ 20% ขนาด 5 มล./กก. ทางปาก วันละ 2 ครั้ง นาน 60 วัน (หนูแรทหนุ่มจะไม่ได้รับสารทดสอบ เป็นกลุ่มควบคุม) หลังจากนั้นจะให้สาร concanavalin A (Con A) เพื่อเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ลิมโฟไซต์ การสร้างไซโตไคน์ต่างๆ (IL-2, IFN-γ, IL-6, และ TNF-α) การแสดงออกของ tyrosine hydroxylase (p-TH), nerve growth factor (NGF), m-TOR, IκB--α, p-NF-κB (p50 และ p65), p-ERK, p-Akt, p-CREB และการเกิด lipid peroxidation, การสร้าง protein carbonyl, และการสร้าง nitric oxide (NO) ผลการทดลองในเซลล์ของหนูทั้ง 2 ชนิดพบว่า NFJ เพิ่มการกระตุ้นเซลล์ลิมโฟไซต์ของสาร Con A โดยทำให้การแบ่งตัวเพิ่มขึ้น การสร้าง IL-2 และ IFN-γ ในเซลล์เพิ่มขึ้น และการแสดงออกของ p-ERK, p-Akt, และ p-CREB ก็เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลการทดลองในร่างกายหนูแรทแก่ โดยพบว่า NFJ ทำให้เซลล์ลิมโฟไซต์แบ่งตัวเพิ่มขึ้น การสร้าง IL-2 และ IFN-γ เพิ่มขึ้น การแสดงออกของ p-TH, NGF เพิ่มขึ้น การสร้าง NO เพิ่มขึ้น ในขณะที่การสร้าง IL-6, การเกิด lipid peroxidation, การสร้าง protein carbonyl, และการแสดงออกของ IκB-α และ p-NF-κB (p50) ในม้ามหนูของหนูแรทแก่จะถูกยับยั้ง เมื่อเทียบกับหนูแรทแก่ที่ได้รับสาร con A แต่ไม่ได้รับสารทดสอบ จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า น้ำคั้นจากผลยอสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากภาวะแก่ ผ่านระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่เกิดจากความชราได้
J Ethnopharmacol 2017;198:363-71.