ผลของน้ำทับทิมและน้ำส้มที่มีต่อระดับการต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

เมื่อให้ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จำนวน 65 คน อายุเฉลี่ย 39±8 ปี รับประทานน้ำทับทิมหรือน้ำส้ม ปริมาณ 250 มล./วัน หลังอาหารกลางวัน ร่วมกับอาหารที่ให้พลังงานต่ำ (hypocaloric diet) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าระดับของเอนไซม์ในตับ ได้แก่ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase และค่าดัชนีมวลกายลดลงในทั้งสองกลุ่ม ในผู้ป่วยที่ดื่มน้ำทับทิมจะมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระรวม (total antioxidant capacity) สูงขึ้น แต่ในกลุ่มที่ดื่มน้ำส้มไม่มีผล และไม่มีผลต่อระดับ มาลอนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde) และ tumor necrosis factor-α จากผลการศึกษาจะเห็นว่า การดื่มน้ำทับทิมซึ่งมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงมีผลในการช่วยปรับปรุงระบบการต้านอนุมูลอิสระของผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับได้ และให้ผลดีกว่าน้ำส้ม

Int J Vitam Nutr Res 2016:1-7.