ฤทธิ์ต้านปอดอักเสบและต้านการหดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบของสารสกัดน้ำลูกยอ

ศึกษาฤทธิ์ต้านปอดอักเสบของสารสกัดน้ำลูกยอ โดยทำการป้อนและฉีดเข้าทางช่องท้อง (intraperitoneal) หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดอักเสบด้วยการฉีด prednisolone 10 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ทำการศึกษาโดยการแยกลำไส้ส่วน jejunum ของหนูแรทออกมาเลี้ยงนอกร่างกาย (ex vivo) ในสารละลายที่มีสารสกัดน้ำลูกยอเข้มข้น 30-90 µL ผลจากการศึกษาพบว่า การป้อนและการฉีดสารสกัดน้ำลูกยอเข้าช่องท้องหนูขนาด 4.55 และ 2.17 มก./กก. ตามลำดับ มีผลลดการอักเสบของปอด โดยลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ได้แก่ macrophage, lymphocyte, eosinophils และ neutrophils และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถยับยั้งการเกิด nitric oxide ได้ (nitric oxide scavenging effect) ส่วนผลการศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ส่วน jejunum พบว่า สารสกัดน้ำลูกยอมีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ที่ถูกเหนี่ยวนำโดย BaCl2 (calcium signal) หรือ methacholine (cholinergic signal) โดยแปรตามความเข้มข้นของสารสกัด (dose-dependent) และมีฤทธิ์กั้นช่องทางการไหลของแคลเซียม หรือมีฤทธิ์เป็นแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blocker) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำลูกยอมีฤทธิ์ต้านปอดอักเสบและต้านการหดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบ

J Ethnopharmacol. 2016; 192: 264-272.