ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารโพลีฟีนอลจากมะกอกในหนูที่มีภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรังของสารโพลีฟีนอลที่แยกได้จากเนื้อผลมะกอกซึ่งเหลือจากกระบวนการผลิตน้ำมันมะกอกบริสุทธ์ (extra virgin olive oil) โดยให้หนูเม้าส์กินสารโพลีฟีนอลในขนาด 20 มก./กก./วัน โดยนำมาละลายในน้ำที่มีเอทานอลความเข้มข้น 11% เป็นเวลานาน 2 เดือน จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารโพลีฟีนอลที่นำมาทดสอบมีสารไฮดรอกซีไทโรซอล (Hydroxytyrosol) และอนุพันธ์เป็นส่วนประกอบหลัก (30 และ 20% ตามลำดับ) และจากการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี free oxygen radical test (FORT) และ free oxygen radical defense (FORD) tests พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารโพลีพีนอลจากผลมะกอกร่วมกับแอลกอฮอล์มีค่า FORT ลดลง และมีค่า FORD เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับแอลกอฮอร์อย่างเดียว ดังนั้นสารโพลีฟีนอลสามารถต้านอนุมูลอิสระจากการเหนี่ยวนำด้วยเอทานอลได้ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารโพลีฟีนอลจากผลมะกอกน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชันและความผิดปกติที่เกิดจากภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรังได้

Nutrition 2017;33:65-9.