การศึกษาความเป็นพิษต่อตับของกรด ginkgolic จากแป๊ะก๊วย

เมื่อป้อนหนูเม้าส์ด้วยกรด ginkgolic (C15:1) ที่แยกได้จากใบและเมล็ดของแป๊ะก๊วย ขนาด 25 และ 50 มคก./กก./วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกรด ginkgolic และตรวจวิเคราะห์ metabolomic profile ของเนื้อเยื่อตับและซีรัมดัวย 1H-NMR ร่วมกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมี พบว่ากรด ginkgolic ทั้ง 2 ขนาด มีผลทำให้น้ำหนักตัวของหนูลดลง แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ และไม่ทำให้ขนร่วง ระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) และ alanine aminotransferase (ALT) ในเลือด ระดับของเอนไซม์ glutathione S-transferase และ xanthine oxidase ในตับของหนูที่ได้รับกรด ginkgolic มีค่าสูงขึ้น ขณะที่เอนไซม์ superoxide dismutase มีค่าลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กรด ginkgolic ยังมีผลทำให้ระดับของกรดยูริคในเลือด รวมทั้งระดับของ malondialdehyde และ nicotinamideadenine dinucleotide ในตับสูงขึ้น แต่ระดับของ adenosine ลดลง แสดงว่ากรด ginkgolic จากแป๊ะก๊วย มีผลทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชัน ความผิดปกติของ purine metabolism ในตับ ซึ่งสัมพันธิ์กับฤทธิ์ต้านเนื้องอก และการเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายตับ โดยฤทธิ์จะเพิ่มขึ้นตามขนาดที่เพิ่มขึ้นของสาร

J Pharma Biomed Anal 2017;136:44-54.