การศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ที่รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยการศึกษาในมนุษย์ จากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (prospective cohort study) ทั้งหมด 9 การศึกษา ที่ทำการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคชาเขียวในประเทศจีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ในประชากรปกติ465,274 คน และประชากรที่เป็นมะเร็งตับ 3,694 คน ผลการศึกษาสรุปว่าการดื่มชาเขียวในปริมาณสูง (มากกว่า 1 แก้วต่อวัน) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับอย่างนัยสำคัญ ด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk: RR) 0.88, ค่าความเชื่อมั่น 95% (CI), 0.81-0.97 ในขณะที่การรับประทานชาเขียววันละ 1 แก้วไม่มีผลลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ (RR: 0.97, 95%CI, 0.95-1.00) และเมื่อแยกวิเคราะห์ตามเพศพบว่าชาเขียวมีผลลดอัตราการเกิดมะเร็งตับในเพศหญิง (RR: 078, 95%CI 0.64-0.96) ได้ดีกว่าเพศชาย (RR: 0.89, 95%CI, 0.79-1.00) จึงสรุปได้ว่าชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับได้ดีโดยเฉพาะกับในสตรีชาวอาเซียน
Nutrition 2016;32:3-8