การศึกษาความเป็นพิษของปลาไหลเผือก

การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสารสกัดรากปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia Jack) ซึ่งมีสาร quassinoidsเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ พบว่าขนาดที่ทำให้หนูแรทเพศผู้และเพศเมียตายครึ่งนึง (LD50) คือ 1,293 และ > 2,000 มก./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ และการศึกษาต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูแรททั้งเพศผู้และเพศเมียโดยป้อนรากปลาไหลเผือก ขนาด 10, 25 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว พบว่ารากปลาไหลเผือกมีผลเพิ่มดัชนีชี้วัดการเจริญพันธุ์ของหนูแรทเพศผู้ เมื่อได้รับสารสกัดนานติดต่อกัน 28 วัน และมีช่วยลดเปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อน ทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (pre-implantation loss and post-implantation loss) ลดการฝ่อของตัวอ่อนในครรภ์ (late resorption) ในหนูแรทเพศเมียที่ได้รับสารสกัดติดต่อกัน 14 วัน ไม่พบอาการความเป็นพิษอื่นๆ และไม่พบความความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ แสดงให้เห็นว่าขนาดสูงที่สุดของรากปลาไหลเผือกซึ่งได้รับทุกวันแล้วไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย (no-observed-adverse-effect level: NOAEL) คือ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ซึ่งมีค่าต่ำกว่าค่าLD50 ถึง 10 เท่า

Phytother Res 2014;28:1022-9