ศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองของสาร safranal จากหญ้าฝรั่น (Crocus sativas ) ในหนูแรท โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 ตัว) กลุ่มที่ 1 ฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มล./กก. จากนั้น 30 นาที ฉีดน้ำเกลือขนาด 1 มคก. เข้าทางสมองส่วน hippocampus (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มล./กก. จากนั้น 30 นาที ฉีดสาร quinolinic acid (QA) ขนาด 300 นาโนโมล/ลิตร เข้าทางสมองส่วน hippocampus เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมอง กลุ่มที่ 3 - 5 ฉีดสาร safranal เข้าทางช่องท้องขนาด 72.75, 145.5 และ 291 มก./กก ตามลำดับ จากนั้น 30 นาที ฉีดสาร quinolinic acid ขนาด 300 นาโนโมล/ลิตร เข้าทางสมองส่วน hippocampus จากนั้น 24 ชั่วโมง ทำการชำแหละซากและแยกเก็บสมองส่วน hippocampus เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงการเกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และความเสียหายของดีเอ็นเอ ด้วยวิธี ferric reducing/antioxidant power (FRAP) assay และ comet assay วิเคราะห์หาค่า total sulfhydryl (thiol) groups ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงการเกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ellman method และวิเคราะห์ตัวชี้วัดถึงการเกิดอนุมูลอิสระได้แก่ thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) โดยการวัดค่าการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation (วัดระดับ malondialdehyde; MDA) ผลจากการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับการฉีดสาร safranal จากหญ้าฝรั่นก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมองด้วย QA ทุกขนาดมีผลกระตุ้นให้เกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีผลเพิ่มค่า FRAP value, total thiol concentration และลดค่าความเสียหายของดีเอ็นเอ และระดับของ MDA ลง เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ฉีดน้ำเกลือก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมองด้วย QA แสดงให้เห็นว่าสาร safranal จากหญ้าฝรั่นมีฤทธิ์ในการป้องกันความเสียหายของสมองส่วน hippocampus ซึ่งมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความจำ โดยผ่านกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ
Iran J Basic Med Sci 2013; 16(1): 73-82