ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของดอกคำฝอย

ทำการแยกสารจากดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) ด้วยเทคนิค HPLC ได้สาร kaempferol 3-O-rutinoside (K-3-R) และ kaempferol 3-O-glucoside (K-3-G) และทดสอบฤทธิ์แก้ปวดของสารสกัด 75% เอทานอลของดอกคำฝอย (hydroalcohol extract ; HE), K-3-R และ K-3-G ด้วยเทคนิค writhing test, formalin test และ cinnamaldehyde test ในหนูเม้าส์ โดยการทดสอบ writhing test ให้สารสกัดโดยการฉีดเข้าช่องท้อง และการทดสอบ formalin test ให้สารสกัดโดยป้อนทางปาก ผลการทดสอบพบว่าสาร HE ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก., สาร K-3-R และ K-3-G ขนาด 150, 300 และ 600 มก./กก. มีฤทธิ์ลดอาการปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกชักนำให้ปวดด้วย acetic acid และ formalin และหลังจากให้สารทดสอบทุกขนาด ทางปากแก่หนูเม้าส์ที่ถูกกระตุ้นให้อุ้งเท้าบวมด้วย cinnamaldehyde พบว่าสารทดสอบทั้งหมดสามารถช่วยลดอาการปวดทั้ง 2 ระยะ (early และ late phase) โดยแสดงฤทธิ์ได้ดีกว่ายาต้านการอักเสบ aspirin และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูเม้าส์ที่ถูกชักนำให้อุ้งเท้าอักเสบด้วยสาร carrageenan และหนูที่ถูกชักนำให้เกิดการบวมที่หูด้วยสาร xylene และให้สารสกัดแก่หนูทางปาก ผลการทดสอบพบว่า HE และ K-3-G มีฤทธิ์ลดอาการบวมในหนูที่อุ้งเท้าอักเสบทั้ง 2 ระยะ ในขณะที่ K-3-R จะมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบระยะ late phase อย่างเดียว และยังพบว่า HE ขนาด 400 และ 800 มก./กก. และ K-3-G ขนาด 200, 400 และ 800 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านอักเสบจากสาร xylene โดยประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ ส่วน K-3-R จะยับยั้งการอักเสบที่หูได้ที่ขนาดสูง 800 มก./กก. เท่านั้น ผลการทดสอบจึงช่วยยืนยันฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของสาร K-3-R และ K-3-G ที่พบได้ในดอกคำฝอย

J Ethnopharmacol 2014;151:944-50