ฤทธิ์ระงับปวดของกานพลู

ศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของน้ำมันกานพลูในหนูแรท 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 4 ตัว) กลุ่มที่ 1 ให้ทาครีมมาตรฐานจากบริเวณปลายหางขึ้นมา 3 ซม. กลุ่มที่ 2 ทายาด้วยแก้ปวด indomethacin 5% โดยมวล กลุ่มที่ 3 – 5 ทาด้วยครีมมาตรฐานที่ผสมน้ำมันดอกกานพลูอยู่ 1%, 5% และ 10% โดยมวล ตามลำดับ ก่อนนำหนูทุกกลุ่มไปทดสอบด้วยวิธี tail – flick ผลจากการทดลองพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ทาครีมมาตรฐานที่ผสมน้ำมันดอกกานพลู 5% แสดงฤทธิ์ระงับปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่เวลา 90 และ 120 นาที โดยมีเปอร์เซ็นต์สูงสุดที่หนูทนต่อความเจ็บปวดได้ (The percent maximum possible effect, %MPE) ที่นาที 120 เท่ากับ 18.62% ในขณะที่หนูแรทกลุ่มที่ทาด้วยยา indomethacin 5% จะแสดงฤทธิ์ระงับปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่เวลา 120 และ 180 นาที และมี %MPE ที่นาที 180 เท่ากับ 36.76% แสดงให้เห็นว่า น้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ระงับปวด แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน

Thai J. Pharm. Sci. 2013; 38(suppl.): 63-5