ศึกษาฤทธิ์ซ่อมแซมกระดูกของผักกระสัง โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศเมีย 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว ทำการผ่าตัดเพื่อเจาะกระดูกโคนขาของหนูทุกตัว (ขนาด 0.8 มม.) จากนั้นในวันถัดมาเริ่มทำการป้อนสารสกัดเอทานอลผักกระสังขนาด 100 และ 200 มก. / กก. ให้แก่หนูแรทกลุ่มที่ 1 และ 2 ตามลำดับส่วนกลุ่มที่ 3 ป้อนด้วยกัมอะเคเซีย (gum-acacia) ที่ผสมในน้ำเปล่า เพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุม เมื่อเลี้ยงครบ 12 วัน ทำการฆ่าเพื่อเก็บกระดูกส่วนโคนขาของหนูเพื่อนำมาวิเคราะห์การซ่อมแซมตนเองของกระดูก ด้วยการย้อม calcein และตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิด confocal microscopy สังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดูกบริเวณที่ถูกเจาะด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (micro-computed tomography, µCT) และวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกระดูกด้วยวิธีquantitative real-time polymerase chain reaction (qPCR) ผลจากการทดลองพบว่า การป้อนหนูแรทด้วยสารสัดเอทานอลผักกระสังขนาด 200 มก. / กก.มีผลช่วยเสริมสร้างโครงร่างภายในของกระดูก โดยพบการสะสมแร่ธาตุและมีการสร้างกระดูกเพื่อซ่อมแซมบริเวณที่ถูกเจาะมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ค่าเศษส่วนของกระดูกต่อปริมาตร (bone volume fraction) ความหนาของกระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular thickness) และจำนวนกระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular number) เพิ่มขึ้น ค่าดัชนีแบบจำลองโครงสร้าง (structural model index) และช่องโหว่ของกระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular separation) ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า การป้อนสารสัดเอทานอลผักกระสังมีผลเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน Type 1 collagen Osteocalcinและ Bone morphogenetic protein 2เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผักกระสังมีฤทธิ์เสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูกส่วนที่สึกหรอได้
J Ethnopharmacol.2013;148(1):62-8