การศึกษาความความเป็นพิษของว่านหางจระเข้

การศึกษาความเป็นพิษของสาร anthraquinone ซึ่งพบในยางเหลืองของว่านหางจระเข้ โดยแบ่งให้หนูแรทกินน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำคั้นจากใบว่านหางจระเข้ที่กำจัดยางเหลืองออกแล้ว (พบสาร anthraquinone น้อยกว่า 0.1 ส่วนในล้านส่วน) ความเข้มข้น 0.5%, 1% และ 2% ติดต่อกันนาน 3 เดือน ไม่พบความผิดปกติใดๆ และพบว่าขนาดสูงสุดที่ไม่ก่อเกิดความเป็นพิษ (no-observed-adverse-effect level: NOAEL) คือ >2% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร หรือมากกว่าวันละ 1,845 มก./กก.น้ำหนักตัว สำหรับเพศชาย และมากกว่า 2,920 มก./กก.น้ำหนักตัว สำหรับเพศหญิง ในขณะที่หนูแรทที่กินน้ำผสมว่านหางจระเข้ที่ไม่ได้กำจัดยางเหลือง ในระยะเวลาและความเข้มข้นเท่ากัน มีอาการท้องเสีย และเกิดรอยโรคของการเกิดเนื้องอกบริเวณลำไส้ใหญ่ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานว่านหางจระเข้โดยไม่กำจัด anthraquinone ออก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบริเวณลำไส้ใหญ่ได้

Food Chem Toxicol 2013;57:21-31