ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม ซึ่งมีสาร polyphenol มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยภาวะอ้วนลงพุง อย่างไรก็ตามปฎิกิริยาการต้านออกซิเดชั่นในชาเขียวยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน การศึกษานี้เพื่อทดสอบตัวชี้วัดการทำงานของปฎิกิริยาต้านการเกิดออกซิเดชั่น (ทั้งปฏิกิริยาที่ใช้และไม่ใช้เอนไซม์) ในผู้ป่วยภาวะลงพุง โดยทำการทดสอบในผู้ป่วย 35 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกดื่มชาเขียว 4 แก้วต่อวัน กลุ่มควบคุมดื่มน้ำเปล่า 4 แก้วต่อวัน และกลุ่มที่ใช้สารสกัดชาเขียว 2 แคปซูลและดื่มชาเขียว 4 แก้วต่อวัน โดยทำการทดสอบเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทดสอบตรวจเลือดของผุ้ป่วยที่สัปดาห์ที่ 1 และ 8 เปรียบเทียบกัน ทดสอบวัดปริมาณสารกลุ่ม (α-carotene, β-carotene, lycopene) และ tocopherols (α-tocopherol, γ-tocopherol) และทดสอบแร่ธาตุต่างๆ ส่วนเอนไซม์ต่างๆของปฎิกิริยาต้านออกซิเดชั่น (glutathione peroxidase, glutathione, catalase) ในซีรั่มและสมรรถภาพของปฏิกิริยาการต้านออกซิเดชั่นในพลาสมา ผลการทดสอบพบว่าการดื่มชาเขียวและการใช้สารสกัดชาเขียวช่วยเพิ่มสมรรถภาพของปฏิกิริยาต้านการเกิดออกซิเดชั่นในพลาสมา (1.5 ถึง 2.3 μmol/L และ 1.2 ถึง 2.5 μmol/L ตามลำดับที่ P < 0.05) และปริมาณกลูต้าไทโอนในเลือดสูงขึ้น (1783 ถึง 2395 μg/g hemoglobin และ 1905 ถึง 2751 μg/g hemoglobin ตามลำดับที่ p< 0.05) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 8 สัปดาห์ แต่ไม่มีผลต่อระดับของสาร carotenoids, tocopherols, glutathione peroxidase และ ปฏิกิริยา catalase ในซีรั่ม และพบว่าสารสกัดชาเขียวมีผลลดปริมาณของเหล็กในพลาสมา (จาก 128 เป็น 92 μg/dL P <0.02 ) แต่ไม่มีผลต่อระดับทองแดง สังกะสี และซีลีเนียม จากการวิจัยชาเขียวอาจมีประสิทธิภาพในการต้านการเกิดออกซิเดชั่นในผู้ป่วยภาวะอ้วนลงพุง
Nutrition Research 2013;33:180-187