ความเป็นพิษต่อเซลล์ และฤทธิ์ฆ่าหนอนตัวอ่อนของน้ำมันหอมระเหยมะม่วงหิมพานต์

การกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำ ของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ให้ปริมาณน้ำมัน 0.78% v/w เมื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบเคมีด้วยวิธี Gas Chromatography - Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่ามีสารประกอบอย่างน้อย 14 ชนิด โดยเป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์ 78.1% และสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีนส์ 15.7% สารประกอบที่พบเด่นชัดเป็นส่วนใหญ่ คือ tran-beta-ocimene 76.0%, alpha-copaene 4.8%, gamma-cadinene 3.3%, cis-ocimene 2.1% และ beta-caryophyllene 1.9% นำน้ำมันหอมระเหยที่ได้ไปทดสอบหาความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด CEM-SS มีค่า CD50 เท่ากับ 12.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ดังนั้นจึงมีศักยภาพที่อาจพัฒนาสู่การใช้เป็นสารต้านเนื้องอกได้เนื่องจากมีค่า CD50 ต่ำกว่า 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรซึ่งเป็นค่า cut-off point ที่ Wall และคณะแนะนำ น้ำมันหอมระเหย พบว่ามีความเป็นพิษปานกลางต่อหนอนตัวอ่อน Aedes aegypti ให้ค่า LC50 และ LC90 เท่ากับ 77.96 และ 110.26 ตามลำดับ

J.Trop.Med.Plants 2001; 2(1) : 11-12