การศึกษาในหนูแรทเพศผู้ น้ำหนัก 150 - 200 กรัม จำนวน 35 ตัว โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ให้หนูกินเท่าที่จะกินได้ นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้กินน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ให้กินน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v กลุ่มที่ 3 และ 4 ให้กินสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 100 และ 300 มก./กก./วัน ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 และ 6 กินน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v ร่วมกับสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 100 และ 300 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 7 กินน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v ร่วมกับยาลดความดันโลหิต nifedipine 10 มก./กก./วัน นาน 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v เพียงอย่างเดียว ความดันโลหิตช่วงบน (systolic blood pressure) สูงขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% ร่วมกับสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 100 และ 300 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v ร่วมกับยา nifedipine ระดับความดันโลหิตช่วงบนลดลงทั้งที่วัดโดยตรงจากเส้นเลือด หรือวัดที่หาง นอกจากนี้ระดับน้ำตาล คอเลส- เตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ อินซูลิน กรดยูริก ในเลือดของกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 100 และ 300 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v ร่วมกับยา nifedipine ระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ อินซูลิน กรดยูริก ในเลือด ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v เพียงอย่างเดียว จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอลสามารถลดระดับความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ อินซูลิน กรดยูริกในเลือด ในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำตาลฟรุ๊ตโตสได้
Journal of Ethnopharmacology 2009;126:86-89.