ในการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง และน้ำมันเขียว พบว่าองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งคือ alpha-terpinene, isomenthone, trans-carveol, pipertitinone oxide และ beta-caryophyllene ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากน้ำมันเขียว องค์ประกอบหลักคือ alpha-pinene, limonene, 1,8-cineole และ linalool เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากพืชทั้ง 2 ชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli , Staphylococcus aureus และ Candida albicans โดยน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งมีฤทธิ์ดีกว่าน้ำมันเขียว นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากพืชทั้ง 2 ชนิด ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจับกับอนุมูลอิสระ DPPH และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation เมื่อทดสอบด้วยวิธี beta-carotene- linoleic acid ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าเช่นกัน
Phytochemistry 2006;67:1249-55