ผลของถั่งเช่าและผักเชียงดาต่อการปรับปรุงระดับน้ำตาลและไขมันในหนูแรทที่ได้รับอาหารไขมันสูง

การศึกษาผลของสารสกัดจากถั่งเช่า (Cordyceps sinensis) และสารสกัดเอทานอลจากผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) ต่อการปรับปรุงความทนต่อน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และภาวะอ้วนในหนูที่เม้าส์ โดยป้อนสารสกัดจากถั่งเช่า ขนาด 75 มก./กก. สารสกัดเอทานอลจากผักเชียงดา ขนาด 75 มก./กก. และป้อนสารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดจากผักเชียงดา ให้แก่หนูเม้าส์ที่ได้รับอาหารไขมันสูง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ป้อนยาเบาหวาน glibenclamide ขนาด 10 มก./กก. ประเมินระดับความทนต่อน้ำตาลกลูโคสที่เวลา 0, 15, 30, 60, และ 120 นาทีหลังการป้อน ผลพบว่าการป้อนสารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดเอทานอลจากผักเชียงดา มีผลลดระดับน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญเหนือกว่ากลุ่มควบคุม และให้ผลดีไม่ต่างจากการป้อนยาเบาหวาน glibenclamide ขนาด 10 มก./กก. ผลการศึกษาดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพร่วมระหว่างถั่งเช่ากับผักเชียงดาในการลดระดับน้ำตาล พบค่า Fractional Efficacy Concentration Index (FECI) <1 แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ร่วมกัน และเมื่อทดสอบโดยป้อนสารสกัดจากถั่งเช่า ขนาด 75 มก./กก. สารสกัดเอทานอลจากผักเชียงดา ขนาด 75 มก./กก. และป้อนสารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดจากผักเชียงดา ให้แก่หนูเม้าส์ที่ได้รับอาหารไขมันสูง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ามีผลลดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL-คอเลสเตอรอล ได้ไม่ต่างจากการป้อนยาลดไขมัน simvastatin 20 มก./กก. โดยการป้อนสารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดจากผักเชียงดาให้ผลดีกว่าการป้อนสารสกัดจากถั่งเช่าหรือป้อนสารสกัดจากผักเชียงดาเพียงอย่างเดียว (FECI<1) และไม่พบรายงานการเกิดพิษจากการใช้ร่วมกัน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากถั่งเช่าและสารสกัดจากผักเชียงดาสามารถบรรเทาภาวะน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงได้ และการใช้ร่วมกันจะให้ผลเสริมประสิทธิภาพในลดระดับน้ำตาลและไขมันได้ดีกว่าการใช้แบบเดี่ยว

Nat Prod Res. 2024;1-5.