การศึกษาผลของเทคนิคการสกัด ได้แก่ การแช่สกัดในแอลกอฮอล์, การสกัดด้วยแอลกอฮอล์แบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction), การต้มด้วยน้ำ และการสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ ต่อปริมาณสารกลุ่มฟีนอลลิกและฤทธิ์ทางชีวภาพของใบผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) โดยศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP วิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์ด้วย colorimetric methods และวิเคราะห์ปริมาณสาร gymnemic acid และสารประกอบฟีนอลิกหลักด้วยวิธี High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) ผลพบว่าสารสกัดใบเชียงดาจากการสกัดด้วยแอลกอฮอล์แบบไหลย้อนกลับมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดจากการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS โดยพบปริมาณสารฟีนอลิกรวม เท่ากับ 82.54 มก. สมมูลกรดแกลลิค/ก. และสารฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 31.90 มก. สมมูลเควอซิติน/ก. ผลการวิเคราะห์ด้วย HPLC พบสารฟีนอลิกหลัก ได้แก่ sinapic acid, myricetin และ p-hydroxybenzoic acid นอกจากนี้สารสกัดจากการสกัดด้วยแอลกอฮอล์แบบไหลย้อนกลับแสดงฤทธิ์อย่างแรงในการต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-amylase และ α-glucosidase ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 13.36 และ 7.39 มก./มล. ตามลำดับ สารสกัดยังมีฤทธิ์ต้านการการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์ nitric oxide ด้วยค่า IC50 = 1.6 มก./มล. และยับยั้งการทำงานของ acetylcholinesterase ด้วยค่า IC50 = 1.2 มก./มล. การศึกษานี้แสดงให้เห็นการสกัดใบเชียงดาด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสกัดสารชีวภาพจากใบเชียงดา
Molecules 2024;29:5475.