ผลของสารสกัดเลมอนเวอร์บีน่าต่อคุณภาพการนอนหลับ

การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 71 คน ที่มีปัญหาการถูกรบกวนการนอนหลับ แบ่งงออกเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบเลมอนเวอร์บีน่า (Aloysia citrodora; lemon verbena) จำนวน 33 คน และกลุ่มยาหลอกจำนวน 38 คน ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 90 วัน ผลการทดสอบพบค่าความแตกต่างจากการประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วย visual analogue scale (VAS) (6.5 ± 1.6 vs. 5.5 ± 2.1, p = 0.021) เช่นเดียวกับค่าคะแนนทั้งหมด (5.8 ± 2.4, p = 0.008) ค่าคะแนนระยะเวลาเริ่มนับตั้งแต่เข้านอนจนเผลอหลับ (sleep latency) (1.6 ± 1.0 vs. 1.9 ± 0.7, p = 0.027) และประสิทธิภาพของการหลับจากแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ Pittsburgh sleep quality index (PSQI) (84.5 ± 12.8 vs. 79.8 ± 13.6, p = 0.023) การประเมินค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการหลับ (ระยะเวลาเริ่มนับตั้งแต่เข้านอนจนเผลอหลับ, ประสิทธิภาพของการหลับ, ระยะเวลารวมที่ตื่นกลางดึก และการตื่น) ด้วยเครื่องตรวจการนอนหลับ (actigraphy) พบว่ากลุ่มทดสอบมีค่าคะแนนที่ดีกว่า ค่าระดับ melatonin ในตอนกลางคืนเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มทดสอบ (199.7 ± 135.3 vs. 174.7 ± 115.4 พคก./มล., p = 0.048) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงขนาดของร่างกาย (anthropometric parameters) และกิจกรรมทางกาย (physical activity) ในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม จากผลการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยสรุปว่าการได้รับสารสกัดเลมอนเวอร์บีน่าเป็นระยะเวลา 3 เดือน ช่วยส่งผลปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับในอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีปัญหาการถูกรบกวนการนอนหลับได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

Nutrients. 2024;16(10):1523. doi: 10.3390/nu16101523.