การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของสารสกัด 70% เอทานอลจากเปลือกต้นทานาคาที่มาจากเมืองต่างๆ ในประทศพม่า ได้แก่ เมือง Myaing (S1), Monywa (S2) และ Shwebo (S3) ความเข้มข้น 10-1,000 มคก./มล. โดยทดสอบในเซลล์ human foreskin fibroblasts (HFF-1) พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสารสกัด S1 ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. จะมีปริมาณของคอลลาเจนสูงที่สุด 44.16 มคก./มล. การทดสอบในเซลล์ murine melanoma (B16F10) ที่ถูกกระตุ้นด้วย α-melanocyte stimulating hormone (α-MSH) ของสารสกัด S1-S3 ความเข้มข้น 25-250 มคก./มล. พบว่าสารสกัด S1 และ S3 ความเข้มข้น 250 มคก./มล. มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งการสร้างเมลานิน (melanin) และมีฤทธิ์ดีกว่า kojic acid ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ซึ่งปริมาณของเมลานินที่เหลืออยู่ในเซลล์ที่ได้รับสารสกัด S1, S2, S3 และ kojic acid เท่ากับ 83.07±2.26, 128.65±6.27, 77.87±5.08 และ 114.58±12.65% ตามลำดับนอกจากนี้สารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ 51.44±1.39, 33.08±3.73 และ 45.52± 1.15% ตามลำดับ ขณะที่ kojic acid สามารถยับยั้งได้ 70.89±1.84% ในการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัด S1 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวม, สารฟลาโวนอยด์รวม และสาร marmesin (สารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ) สูงที่สุด โดยค่า IC50 ในการทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ 2,2′-azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid (ABTS) เท่ากับ 56.43±1.49 และ 14.04±0.05 มคก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) มีค่า FRAP value เท่ากับ 337.62±11.00 มิลลิโมลาร์ FeSO4/ก. สารสกัด แต่ฤทธิ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิตามินซี และ trolox ซึ่งเป็นตัวควบคุมบวก (ค่า IC50 เท่ากับ 4.06±0.43 และ 6.50±0.27 มคก./มล. ตามลำดับ) แสดงว่าสารสกัดจากเปลือกต้นทานาคามีผลกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน, ยับยั้งการสร้างเมลานิน และต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่จะนำมาพัฒนาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวได้
Trop J Nat Prod Res. 2024;8(1):5852-60.