การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยเหง้ากระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก Streptococcus pyogenes DMST 30563, S. mutans DMST 18777 และ S. sobrinus DMST 35719 ด้วยวิธี disc diffusion, broth microdilution และ time-kill assay วิเคราะห์สารสำคัญในการออกฤทธิ์ด้วย thin-layer chromatography (TLC) bioautography และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยด้วย GC-MS ผลการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ากระชายยับยั้งเชื้อ S. pyogenes DMST 30563, S. mutans DMST 18777 และ S. sobrinus DMST 35719 ด้วยค่าพื้นที่การยับยั้งระหว่าง 19.81±0.62 มม. และ 22.22±5.59 มม. ผลการทดสอบด้วย broth microdilution พบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentration, MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (minimum bactericidal concentration, MBC) เท่ากับ 6.25 และ 12.5 มก./มล. ตามลำดับ วิเคราะห์ผลในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยอัตราส่วน MIC/MBC และการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อหน่วยเวลา (Time-Kill Assay) พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่ความเข้มข้น 4xMIC ฆ่าเชื้อได้ 99% ภายในเวลา 1 นาที การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยเหง้ากระชายด้วย GC-MS พบ β-ocimene (40.82%), geraniol (16.79%) และ camphor (16.01%) เป็นองค์ประกอบหลัก และผลการวิเคราะห์สารสำคัญในการออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียจากสารองค์ประกอบที่แยกได้ของบนแผ่น TLC โดยวิธี bioautography พบสาร geraniol เป็นสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจาหเหง้ากระชายมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากได้
J Appl Pharm Sci. 2024;14(02):215-21.