การศึกษาองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยดอกมะกรูดฝรั่ง (Citrus bergamia) และการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อจุลชีพ ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม (Biofilm) และต้าน quorum sensing ของเชื้อแบคทีเรีย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยด้วย GC-MS พบสารสำคัญ 17 ชนิด โดยมี 1,6-Octadien-3-ol,3,7-dimethyl, l-limonene และ p-menth-1-ol, 8-ol เป็นองค์ประกอบหลัก การตรวจสอบโมเลกุลและจำลองการเข้าจับเชิงโมเลกุล (molecular docking) ระหว่างสารสำคัญกับยีนที่ควบคุมการสร้างไบโอฟิล์มและ quorum sensing (3QP5, 5OE3, 4B2O และ 3Q3D) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่าสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดมีความถูกต้องตามกฏของ Lipinskis Rule สาร l-limonene และ p-menth-1-ol, 8-ol มีศักยภาพในการจับและยับยั้งยีนควบคุมการสร้างไบโอฟิล์มและ quorum sensing ส่วน 1,6-Octadien-3-ol,3,7-dimethyl ไม่ให้ผลต่อการจับ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าน้ำมันหอมระเหยดอกมะกรูดฝรั่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50 0.65 มก./มล., ยับยั้ง H2O2 radical ได้ 63.5% และพบค่าความสามารถในการรีดิวซ์ (ferrous reducing antioxidant power) เท่ากับ 239.01 มคก. และการศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยดอกมะกรูดฝรั่งต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus paramycoides และ B. chungangensis พบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) เท่ากับ 0.125 มก./มล. การทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยต่อการสร้างไบโอฟิล์ม พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่ความเข้มข้น 0.01-3 มก./มล. ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้ 52.1-69.5% และต้าน quorum sensing ของเชื้อแบคทีเรียที่ระยะ 4-16 มม. ขึ้นอยู่กับขนาดของสาร
BMC Complement Med Ther. 2024;24:157