ฤทธิ์ปกป้องสมองของเมล็ดงาที่อุดมไปด้วยสาร lignan

ศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดเมทานอลจากเมล็ดงา (Sesamum incidum L.) 10 สายพันธุ์ [Goenback (GB), Ansan (AS), Koppom (KP), Daheuk (DH) Milyang 68 (M68), Milyang 69 (M69), Milyang 70 (M70), Milyang 72 (M72), Milyang 73 (M73) และ Milyang 74 (M74)] ทำการวิเคราะห์ปริมาณสาร lignan ในสารสกัดด้วยวิธี HPLC ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase (AChE) ซึ่งมีหน้าที่ทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine ในหลอดทดลองด้วยวิธี spectrophotometric method ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS assay และ DPPH assay และทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองบนเซลล์ neuroblasma SH-SY5Y ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เสียหายด้วย amyloid-β พบว่า สารสกัดจากงาสายพันธุ์ M74 มีปริมาณสาร lignan สูงที่สุด (17.71 มก./ก.) และที่ความเข้มข้น 0.4 มก./มล. สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ AChE ได้ 66.17% และมีผลยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น โดยมีค่าความเข้มข้นในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้เท่ากับ 5.28 และ 2.98 มก. เทียบเท่า Trolox/ก. ของสารสกัด จากการทดสอบด้วยวิธี ABTS assay และ DPPH assay ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของเซลล์ SH-SY5Y ได้ดีที่สุด และสามารถยับยั้งการเกิด reactive oxygen species และ malondialdehyde ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย amyloid-β ได้ ดังนั้น สารสกัดเมทานอลและน้ำมันจากเมล็ดงาสายพันธุ์ M74 จึงถูกเลือกมาทำการศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมด้วยการฉีดยา scopolamide เข้าทางช่องท้อง (2 มก./กก.) เปรียบเทียบกับการใช้สารสกัดจากงาสายพันธุ์ GB โดยหลังจากฉีดยา scopolamide 30 นาที ทำการป้อนสารสกัดเมทาอนล M74 หรือ GB ขนาด 250 และ 500 มก./กก. และป้อนน้ำมันงา M74 หรือ GB ขนาด 1 และ 2 มล./กก. เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทดสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของหนูด้วยวิธี passive avoidance test และ water maze test พบว่า สารสกัดเมทานอลและน้ำมันจากเมล็ดงาสายพันธุ์ M74 มีผลช่วยฟื้นฟูการเรียนรู้และความจำของหนูเม้าส์ได้ดีกว่าสายพันธุ์ GB และเมื่อทำการวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนในตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองพบว่า การป้อนสารสกัดเมทานอลและน้ำมันจากเมล็ดงาสายพันธุ์ M74 มีผลลดระดับเอนไซม์ AChE และเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท acetylcholine ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว และได้ผลดีกว่าการป้อนสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดงาสายพันธุ์ GB นอกจากนี้ ยังมีผลเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ประสาทซึ่งได้แก่ brain-derived neurotrophic factor (BDNF) และ nerve growth factor (NGF) และลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสม amyloid-β ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะสมองเสื่อมคือ amyloid-β precursor (APP), β-secretase 1 (BACE-1) และ presenilin ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดงาและน้ำมันงามีฤททธิ์ช่วยฟื้นฟูและป้องกันภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ที่มีปริมาณสารสำคัญ lignan สูง

Antioxidants (Basel). 2023;12(5):1110.