การทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการซึมเศร้าของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าฝรั่น (saffron essential oil; SEO) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วยการเลี้ยงภายใต้สภาวะเครียดอย่างอ่อนที่ไม่สามารถคาดเดาได้แบบเรื้อรัง (chronic unpredictable mild stress; CUMS) โดยหนูจะได้รับการกรอกยารักษาอาการซึมเศร้ามาตรฐาน fluoxetine ขนาด 3.6 มก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหาร วันละครั้ง หรือให้สูดดมอากาศที่เจือจางด้วย SEO ขนาด 2%, 4%, และ 6% นาน 4 ชม. วันละ 2 ครั้ง ทำการทดสอบนาน 20 วัน ประเมินผลด้วยแบบทดสอบพฤติกรรม (open field test, sucrose preference test, tail suspension test, และ forced swimming test), hematoxylin-eosin staining, และ Nissl staining รวมทั้งใช้ ELISA kits ในการวัดระดับ dopamine (DA), 5-serotonin (5-HT), brain-derived neurotrophic factor (BDNF), และ γ-aminobutyric acid (GABA) ในเลือด และใช้ western blot (WB) ในการวัดระดับ Raf1, MEK1, P-ERK1/2/ERK1/2, P-CREB1/CREB1, BDNF, และ PTrk B/Trk B ในสมองส่วน hippocampus จากผลการทดลองพบว่ายา fluoxetine และ SEO ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าของหนูได้ โดยทำให้ระดับ 5-HT, DA, BDNF, และ GABA ในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งช่วยให้การถูกทำลายของเนื้อเยื่อสมองลดลง และการวิเคราะห์ผลด้วย WB พบว่ายา fluoxetine และ SEO ทำให้การแสดงออกของ Raf1, MEK1, P-ERK1/2/ERK1/2, P-CREB1/CREB1, BDNF, และ P-Trk B/Trk B สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบประสิทธิภาพโดยรวม พบว่า SEO ขนาด 4% ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยจากหญ้าฝรั่นมีฤทธิ์บรรเทาอาการซึมเศร้า ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์อาจจะเกี่ยวข้องกับ MAPK-CREB1-BDNF signaling pathway
J Ethnopharmacol. 2023;300:115719. doi: 10.1016/j.jep.2022.115719.