องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกเงาะประกอบด้วย กรดอินทรีย์ ได้แก่ shikimic acid, oxalic acid, citric acid, ascorbic acid, สาร tocopherols ได้แก่ α-, γ-, และ δ-tocopherol, กรดไขมัน ได้แก่ oleic acid, palmitic acid, linolenic acid และสารประกอบฟีนอลิก ได้แก่ ellagic acid, ellagitannin derivatives, delphinidin-O derivatives ในการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของเปลือกเงาะ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ความเป็นพิษต่อเซลล์ และต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากเปลือกเงาะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.79±0.03 มคก./มล. เมื่อทดสอบด้วยวิธี thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) formation inhibition ซึ่งฤทธิ์ดีกว่าสาร trolox ที่เป็นตัวควบคุมบวก (IC50 5.8±0.6 มคก./มล.) และมีค่า IC50 เท่ากับ 72±2 มคก./มล. เมื่อทดสอบด้วยวิธี oxidative hemolysis inhibition สารสกัดจากเปลือกเงาะที่ความเข้มข้นสูงสุด 400 มคก./มล. ไม่มีผลลดการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์ macrophages RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ และไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด NCI-H460, มะเร็งเต้านม MCF-7, มะเร็งตับ HepG2, มะเร็งปากมดลูก HeLa และเซลล์ตับปกติของหมู (porcine liver primary cell line) สำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าสารสกัดจากเปลือกเงาะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Listeria monocytogenes, Escherichia coli, Salmonella typhimurium, Enterobacter cloacae) และเชื้อรา (Aspergillus fumigatus, A. versicolor, A. niger, Penicillium funiculosum, P. verrucosum var. cyclopium, Trichoderma viride) ที่ทดสอบได้ โดยมีค่า MIC ≤ 1 มก./มล.
Food Res Int. 2023;165:112574.