อันตรกิริยาระหว่างสารสกัดบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน metformin, sitagliptin และ glibenclami

การศึกษาอันตรกิริยาระหว่างสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน 3 ชนิด ได้แก่ metformin, sitagliptin และ glibenclami ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ให้สารสกัด ขนาด 400 มก./กก. ร่วมกับยา metformin ขนาด 90 มก./กก. หรือยา sitagliptin ขนาด 10 มก./กก. หรือยา glibenclami 1 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดหรือยาเพียงอย่างเดียวและกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดไม่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลน-ศาสตร์ของยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ค่าความเข้มข้นสูงสุดของยาในเลือด (Cmax,), ค่าพื้นที่ใต้กราฟของความเข้มข้นของยากับเวลา (AUC), ค่าคงที่ของอัตราในการขจัดยา (Ke) และระยะเวลาที่ความเข้มข้นของยาในเลือดสูงสุด (Tmax) การให้สารสกัดร่วมกับยามีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้มากกว่าการให้สารสกัดหรือยาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase, blood urea nitrogen (BUN), คอเลสเตอ-รอลรวม และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เมื่อเทียบกับหนูเบาหวานกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาหรือสารสกัด สรุปได้ว่า การให้สารสกัดจากบอระเพ็ดร่วมกับยารักษาเบาหวานทั้ง 3 ชนิด มีผลช่วยให้ในการควบคุมเบาหวานและอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคได้ดีกว่าการให้ยาเพียงอย่างเดียว และไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

Phcog Mag. 2020;16:S47-56.